วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

การบัญชีเบื้องต้น2

หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า

เงื่อนไขเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า
1. เงื่อนไขการชำระเงิน (Terms of Payment) ผู้ขายสินค้าจะเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขเงินไว้ในใบกำกับสินค้า เพื่อเป็นการกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ ให้ผู้ซื้อชำระเงินค่าสินค้าก่อนกำหนดเวลา เพื่อให้ผู้ซื้อได้รับส่วนลดอีกด้วย

เงื่อนไขที่ทางการค้านิยมใช้กันมาก ได้แก่
1. 2/10,n/30 หมายความว่า ถ้าผู้ซื้อชำระเงินภายใน 10 วัน นับจากวันที่ในใบกำกับสินค้า จะได้ส่วนลด 2% แต่ถ้าผู้ซื้อชำระเงินภายใน 30 วัน จะไม่ได้ส่วนลด
2. 2/10,eom. ( eom. ย่อมาจาก end 0f mont) หมายความว่า วันครบกำหนดในการชำระหนี้ คือ สิ้นเดือนถัดไป แต่ถ้าชำระเงินภายในวันที่ 10 ของเดือนถัดไปจะได้ส่วนลด 2%
2. ส่วนลด (Discoumts) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ส่วนลดการค้า ( Trade Discounts) หมายถึง ส่วนลดที่ผู้ขายลดให้ผู้ซื้อเพื่อเป็นแรงจูงใจให้ผู้ซื้อได้ซื้อสินค้าครั้งละมาก ๆ โดยผู้ขายจะกำหนดอัตราส่วนลด เป็นอัตราร้อยละจากราคากำหนดไว้ในใบกำกับสินค้า ส่วนลดการค้านี้จะนำไปหักจากราคาซื้อ หรือราคาขายก่อน จะได้ราคาสุทธินำไปบันทึกบัญชี ดังนั้น ส่วนลดการค้าไม่ต้องนำมาบันทึกบัญชี
2. ส่วนลดเงินสด ( Cash Discounts) หมายถึง ส่วนลดที่ผู้ขายลดให้ผู้ซื้อเพื่อจูงใจให้ผู้ซื้อชำระเงินโดยเร็ว ผู้ซื้อจะได้ส่วนลดเงินสดต่อเมื่อได้ชำระเงินตามเงื่อนไขการชำระหนี้ก่อนกำหนด ส่วนลดเงินสดต้องนำมาบันทึกบัญชี
- ทางด้านผู้ขาย ที่ให้ส่วนลด เรียกว่า ส่วนลดจ่าย หรือส่วนลดจ่าย
- ทางด้านผู้ซื้อ ส่วนลดที่ได้รับ เรียกว่า ส่วนลดรับ หรือส่วนลดซื้อ

การซื้อขายสินค้าส่วนใหญ่ ผู้ซื้อและผู้ขายจะอยู่ต่างสถานทีกัน หรือห่างไกลกันต้องอาศัยกิจการขนส่งในการขนส่งสินค้า เช่น รถไฟ เรือ รถบรรทุก ฯลฯ ดังนั้น ผู้ซื้อและ(ขายจะต้องตกลงกันให้เรียบร้อยว่าใครจะเป็นผู้จ่ายค่าขนส่ง
การขนส่งสินค้า แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1. การขนส่งเข้า หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับต้นทุนสินค้าที่ขาย ซึ่งผู้ซื้อเป็นผู้จ่าย จะบันทึกใน บัญชีค่าขนส่งเข้า
2. การขนส่งออก หมายถึง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขายสินค้า ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกิจการ ผู้ขายเป็นผู้จ่าย จะบันทึกใน บัญชีค่าขนส่งเข้า
3. การขนส่งออก หมายถึง ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการขายสินค้า ถือเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของกิจการ ผู้ขายเป็นผู้จ่าย จะบันทึกใน บัญชีค่าขนส่งออก

เงื่อนไขเกี่ยวกับค่าขนส่งสินค้า มีดังนี้
1. การส่งมอบต้นทาง (F.o.B. Shipping Point) หมายถึง ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายค่าขนส่ง ผู้ขายมีหน้าที่เพียงนำสินค้าไปที่ทำการต้นทางส่งสินค้าเท่านั้น
2. การส่งมอบปลายทาง (F.o.B. Destination) หมายถึง ผู้ขายเป็นผู้ออก ค่าขนส่ง
3. ค่าขนส่งสินค้าที่จ่ายแทนกัน ถึงแม้ว่าการตกลงซื้อขายได้กระทำตามเงื่อนไขในการส่งมอบสินค้าแล้วก็ตาม ผู้ซื้อและผู้ขายอาจจะจ่ายค่าขนส่งแทนกันได้ เพื่อความสะดวกของทั้งสองฝ่าย เช่น
(F.o.B. Shipping Point) หมายถึง ผู้ซื้อเป็นผู้จ่ายค่าขนส่ง ผู้ขายมีหน้าที่เพียงนำสินค้าไปที่ทำการต้นทางส่งสินค้าเท่านั้น แต่ผู้ขายจ่ายแทนไปก่อนตามเงื่อนไข
(F.o.B. Destination)

ภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tex)
ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง ภาษีที่เรียกเก็บจากมูลค่าของสินค่าหรือบริการในส่วนที่เพิ่มขึ้นแต่ละขั้นตอนของการผลิต และการจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่าง ๆ
สูตร ภาษีมูลค่าเพิ่ม = ภาษีขาย - ภาษีซื้อ

ภาษีขาย (Sales Tax) คือ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนได้เรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือผู้บริการ เมื่อได้ขายสินค้าหรือให้บริการ หากภาษีขายเกิดขึ้นในเดือนใดก็เป็นภาษีขายของเดือนนั้น โดยไม่คำนึงว่าสินค้าที่ขาย หรือบริการจะซื้อมา หรือเป็นผลมาจากผลิตในเดือนใดก็ตาม
ภาษีซื้อ (Purchase Tax) ภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้แระกอบการจดทะเบียนได้จ่ายให้กับผู้ขายสินค้าหรือผู้ขายบริการที่เป็นประกอบการจดทะเบียนอื่น เมื่อซื้อสินค้าหรือรับบริการที่เพื่อใช้ในกิจการของตนทั้งที่เป็นวัตถุดิบ หรือสินค้าประเภทเครื่องจักร เครื่องมือและอุปกรณ์ เป็นต้น หากภาษีซื้อเกิดขึ้นในเดือนใดก็เป็นภาษีซื้อเดือนนั้น โดยไม่คำนึ่งว่าสินค้าที่ซื้อนั้นจะขายหรือนำไปใช้ในการผลิตเดือนใดก็ตาม
ถ้า ภาษีขาย มากว่า ภาษีซื้อ กิจการต้องชำระภาษีเพิ่ม
ถ้า ภาษีขาย น้อยกว่า ภาษีซื้อ กิจการสามารถขอคืนภาษีได้
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ตาม พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ 2534 ได้กำหนดให้บุคคลต่อไปนี้เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ประกอบด้วย 3 ประเภท คือ
1. ผู้ประกอบการ คือ ผู้ผลิต ผู้ให้บริการ ผู้ขายปลีก ผู้ส่งออก ซึ่งขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจ หรือวิชาชีพ และประกอบกิจการในราชอาณาจักร
2. ผู้นำเข้า คือ ผู้ประกอบการ หรือบุคคลอื่น ซึ่งนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรไม่ว่าการใด ๆ และยังรวมถึงการนำสินค้าที่ต้องเสียอากรขาเข้า หรือ สินค้าทีได้รับการยกเว้นอากรขาเข้า ตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากรออกจากเขตอุตสาหกรรมส่งออก โดยมิใช่เพื่อการส่งออกด้วย
3. ผู้ที่กฎหมายกำหนดเป็นพิเศษให้เป็นผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ทั้งนี้ เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษี เช่น ตัวแทนของผู้ประกอบการที่อยู่นอกราชการอาณาจักรและขายสินค้าหรือให้บริการราชอาณาจักรเป็นปกติ หรือในกรณีที่ผู้รับโอนสินค้าจากการนำเข้าที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามกฎหมายพิกัดอัตราศุลกากร หรือผู้ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าหรือบริการผู้ที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 0 เป็นต้น
อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากบุคคลทั้ง 3 กลุ่ม คือ
1. อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 7 สำหรับการขายสินค้า หรือให้บริการทุกประเภท รวมทั้งการนำเข้า (อาจจะเพิ่ม - ลด ได้ตามสภาวะทางเศรษฐกิจ)
2. อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 1.5 สำหรับการขายสินค้า หรือให้บริการของผู้ประกอบการ ที่มีรายรับระหว่าง 600,000 บาท ถึง 1,200,000 บาท ต่อปี
3. อัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 0 ใช้กับธุรกิจการส่งสินค้าออกไปต่างประเทศการให้บริการขนส่งระหว่างประเทศ ฯลฯ
การยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มและการชำระภาษี
ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี และการชำระภาษี ผู้ประกอบการต้องยื่นแบบ ภ.พ. 30 ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่สถานประกอบการตั้งอยู่ ภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป ไม่ว่าจะมีการขายสินค้าหรือให้บริการในเดือนภาษีนั้นหรือไม่ก็ตาม
มายถึง ผู้ขายเป็นผู้ออก ค่าขนส่ง แต่ผู้ซื้อได้จ่ายแทนไปก่อน

แบบฝึกทักษะเรื่อง ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการซื้อขายสินค้า

1. สินค้า หมายถึงอะไร พร้อมยกตัวย่างประกอบ
2. เงื่อนไขทางการค้าที่นิยมใช้กันมากมีกี่ประเภท อะไรบ้าง
3. ส่วนลด แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
4. จงอธิบายค่าขนส่งเข้าต่างกับค่าขนส่งออกอย่างไร
5. การส่งมอบต้นทาง และการส่งมอบปลายทาง ต่างกันอย่างไร
6. การขนส่งสินค้าที่จ่ายแทนกัน หมายความว่าอย่างไร
7. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึงอะไร
8. ใครมีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
9. ประเทศไทยนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้เมื่อไร เพราะเหตุใด
10. การยื่นแบบเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม ( ภ.พ. 30) ต้องยื่นที่ใหน และเมื่อไร



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น